ปฏิทิน

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ภัยมืดจากมะเร็ง


           ความสัมพันธ์ระหว่างสารก่อกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็ง ตลอดจนถึงสารส่งเสริมการ เกิด มะเร็ง สารก่อมะเร็ง คือ สารเคมีที่ทำให้เซลล์ปกติเปลี่ยน เป็นเซลล์มะเร็ง โดย มี การ เปลี่ยนแปลงของโมเลกุลดีเอ็นเอ ของโครโมโซม มีการแบ่งตัวของเซลล์มากขึ้น ไม่มีการหยุดยั้ง ขาดการควบคุมในการแบ่งตัว จนเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น เพิ่มจำนวนตัวเองอย่างมากมาย ในสภาวะที่เหมาะสม กลุ่มเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะทางกายภาพและทางชีวเคมีผิดปกตินั้นอาจกลายเป็นกลุ่มเซลล์มะเร็งชนิดร้ายแรง ขบวนการเกิดมะเร็ง เกิดขึ้นอย่างช้าๆ แบบทีละขั้นทีละตอน ตัวอย่างสารก่อมะเร็ง มีมากมาย พบในอาหาร ยารักษาโรค สารปราบศัตรูพืชและสัตว์ เครื่องสำอาง เครื่องใช้ในบ้าน สำนักงาน และสิ่งแวดล้อม
ในอาหาร
  • สารอะฟลาทอกซิน จากเชื้อรา สีเขียวหรือเหลือง เป็นสารพิษ สารก่อกลายพันธุ์ และสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมาก ทนต่อความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส พบมากในผลิตผลทางเกษตร เช่น ถั่วลิสง(โดยเฉพาะถั่วลิสงป่น) ข้าวโพด พริกแห้ง ข้าว มันสำปะหลัง น้ำมันดิบจากถั่วลิสง
  • สารอะโครเลอีนในผลหมาก
  • สารโพลีซัยคลิกไฮโดรคาร์บอน (PAH, Polycyclic aromatic hydrocarbon) เป็นสารที่พบในควัน เขม่าไฟและควันบุหรี่ ซึ่งเกิดจากการเผาไม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ เช่นไขมันในเนื้อสัตว์ ถ่านไม้ ฉะนั้นจึงพบสาร PAH นี้ในส่วนผิวหนัง และส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง รมควันและทอดกรอบ
  • สารไพโรลัยเสท เป็นสารอินทรีย์พวกแอมมีนที่อยู่ในเนื้อที่ไหมเกรียม การเผาไหม้ เกิดจากกรดอะมิโนที่เปลี่ยนโครงสร้างไปจากเดิม
  • สีผสมอาหาร เป็นสารประเภท Azodye, Xanthine และ Aromatic amine ซึ่งบางตัวมีฤทธิ์กลายพันธุ์และก่อมะเร็งได้ กระทรวงสาธารณสุขได้ห้ามใช้ผสมอาหาร เช่น Amaranth, Cyclamate , Sarlet, Malachite green และ Buttter yellow เป็นต้น - ฟอร์มัลดีไฮด์ ในปลา อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ เกิดจากการชุบการฉาบโดยพ่อค้าแม่ค้า
  • สารไนโตรซามีน มักพับในปลาหมึก ปลา (โดยเฉพาะปลาทะเล) ปิ้ง-ย่าง เกิดจากการรวมตัวของสารเอมีนที่อยู่ในปลา กับ N2O3(เกิดจากการรวมตัวของ N2 กับ O2 ที่อุณหภูมิสูง) หรือกับเกลือไนไตร์ท ในภาวะที่เป็นกรดขึ้นในกระเพาะอาหารของมนุษย์ ฉะนั้นการรับประทานอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนไตร์ท หรือเกลือไนเตรท(หรือดินประสิวสามารถถูกเปลี่ยนเป็นเกลือไนไตร์ทได้โดยอาศัยแบคทีเรียในปาก) เช่น แหนม ไส้กรอก กุนเชียง เบคอน ปลาร้า อาหารกระป๋องบางชนิดบ่อยๆ ก็อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษไนโตรซามีน
ในยาและเวชภัณฑ์
  • ยาที่ใช้ในเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง เอดส์(AZT)
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งเสริมการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก
  • รังสีเอ็กซ์ แกมมา อิเลคตรอน ทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • ยาแก้ปวดลดไข้ ที่สำคัญคือ Phenacetin ซึ่งผสมอยู่ในยาเม็ด APC ทำให้เกิดมะเร็งของกรวยไตในคนที่ใช้ยานี้เป็นประจำและนานๆ
เครื่องสำอาง
  • อะนีลิน อินทรีย์ซึ่งเป็นสารสีดำ ใช้ในยาย้อมผม
  • สี D&C Orange#17 และ D&C RED#36 ในลิปสติก พบว่ามีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อแบคทีเรีย - สารก่อมะเร็งในแป้ง ที่พบบ่อยได้แก่ ใยหิน หรือ Asbestos ปะปนใน Talcum powder ที่ใช้ผลิตแป้งแข็ง ทาหน้า แป้งฝุ่น และสเปรย์ระงับกลิ่นตัว ซึ่งใยหินถ้าคนหายใจเข้าไป ทำให้เป็นมะเร็งปอด ระบบทางเดินอาหาร เยื่อหุ้มปอด และเยื่อบุช่องท้องด้วย ในผู้ที่ได้รับใยหินและสูบบุหรี่ โอกาสที่จะเป็นมะเร็งปอดก็มากขึ้นด้วย
  • สี Amaranth ในในแป้งทาหน้า
ในสิ่งแวดล้อม
  • เหล็กออกไซด์ ในผงสีดำ ที่ใช้ทำหมึกพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร
  • สารประกอบที่มี โครเมียม, นิเกิล, ตะกั่ว
  • สาร เบนโซ (เอ) พัยรีน ในเขม่า ควัน จากการเผาขยะ จากท่อไอเสีย
  • ไวนิลคลอไรด์ โมโนเมอร์ในโรงงานทำพลาสติกพีวีซี
  • ดีดีที, คลอโรฟิลนอกซิล เฮอบิไซด์, คลอโรฟอร์ม รังสีอัลตราไวโอเลท
สารก่อมะเร็งยังสามารถแบ่งตามฤทธิ์ในการเกิดมะเร็งเป็น 2 กลุ่ม คือ
  1. สารก่อมะเร็งที่สมบูรณ์ หมายถึงสารก่อมะเร็งที่สามารถทำให้เกิดมะเร็งด้วยตัวมันเองได้ เช่น อะฟลาทอกซิน เป็นต้น
  2. สารก่อมะเร็งที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งต้องการ "สารส่งเสริมการเกิดมะเร็ง หรือทูเมอร์โปรโมเตอร์" เพื่อการเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ทำให้กลุ่มเซลล์ที่เปลี่ยนสภาพไปกลายไปเป็นกลุ่มเซลล์มะเร็งได้เร็วขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสารก่อกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็ง
สารก่อกลายพันธุ์อาจจะเป็นหรือไม่อาจจะไม่เป็นสารก่อมะเร็งก็ได้ สารก่อมะเร็งหลายชนิดมีคุณ สมบัติเป็นสารก่อกลายพันธุ์ด้วย แต่สารก่อมะเร็งบางชนิดก็ไม่เป็นสารก่อกลายพันธุ์ การเกิดมะเร็งมักเกิดในเซลล์เนื้อเยื่อที่เป็นเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการซ่อมแซมดีเอ็นเอ และการกลายพันธุ์เกิดขึ้นที่ยีนชุดไหน ในเซลล์มะเร็งมีชุดของยีนที่กลายพันธุ์ไป เช่น ยีนมะเร็ง (Oncogene) และยีนยับยั้งมะเร็ง (Tumor suppressor gene)


อ้างอิง   http://drug.pharmacy.psu.ac.th/phrabath/cancer2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น